xx |
xx
ประเภทของป่า ที่อยู่ของนก
xx
แหล่งที่อยู่อาศัยคือ แหล่งที่พบนกตามธรรมชาติ
อาจจะเป็นแหล่งอาหารของนก แหล่งทำรังวางไข่ ที่พักผ่อน ที่หลับนอน
ซึ่งบางแหล่งอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับนกเพียงด้านเดียว เช่น เป็นแหล่งอาหาร
แต่เวลาหลับนอนหรือทำรัง นกจะย้ายไปยังที่อื่น บางแหล่งก็มีประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง
เช่น เป็นแหล่งอาหารกับที่หลับนอน บางแหล่งจะมีประโยชน์ทุกด้าน โดยนกบางชนิดอาศัยอยู่ตลอดทั้งปีโดยไม่ไปไหนเลย
xx
ประเภทของแหล่งที่อยู่อาศัย ยังก่อให้เกิดการแบ่งชนิดนกที่อาศัยอยู่ในนั้นด้วย
ในแต่ละแหล่งจะมีความเหมาะสมกับนกแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น ในป่าดิบเขา
นกจะเป็นที่ทนอากาศเย็นได้ดี คล่องแคล่วว่องไว มีขนาดไม่ใหญ่มาก
และมักกินแมลงหรือผลไม้เป็นหลัก ส่วนในทุ่งนา ที่ราบภาคกลาง นกมักเป็นนกที่กินสัตว์น้ำหรือธัญพืชเป็นอาหาร
มักว่ายน้ำได้ดี แม้แต่ในป่า ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลักของนก
ในป่าแต่ละชนิด ก็ยังมีนกอาศัยไม่เหมือนกัน แม้เป็นนกกลุ่มเดียวกันก็ตาม
ดังนั้นการพบนกบางชนิดจะทำให้เราทราบประเภทของป่าและระดับความสูงได้
xx
ลองมาดูกันว่า แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ของนกตามคู่มือดูนกหมายความว่าอย่างไร
มารู้จักประเภทของป่าในประเทศไทย รวมทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยชนิดต่างๆ
ของนกกัน
|
|
|
xx |
|
|
xxป่าดิบเขา
Hill Evergreen Forest
เป็นป่าที่อยู่บนที่สูงไม่ต่ำกว่า 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
พบได้ทุกภาคแต่ส่วนมากจะพบทางภาคเหนือ เช่น ป่าภูหลวง จ. เลย ป่าดอยอินทนนท์
จ. เชียงใหม่ ป่าเขาใหญ่ จ.นครนายก ป่าเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น
ป่ามักจะเป็นป่าทึบ แต่จะโปร่งกว่าป่าดิบชื้น ต้นไม้ไม่สูงมากนัก ป่าในที่สูงมากๆ
มักจะมีอากาศเย็น มีมอสและเฟิร์นขึ้นปกคลุม พืชที่พบมักเป็นพวกก่อ
เช่น ก่อเดือย ก่อนก ก่อตาหมู ส่วนพวกไม้พื้นล่างมักเป็นพวกเฟิร์น
มอส และกล้วยไม้ดิน นกที่มักพบในป่าดิบเขา เช่น นกศิวะหางสีตาล (Chestnut-tailed
Minla) นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) นกโพระดกคางเหลือง
(Golden-throated Barbet) นกพิราบภูเขาสูง (Ashy-wood Pigeon) นกพญาไฟคอเทา
(Grey-chined Minivet) เป็นต้น |
|
xxป่าสนเขา
Pine Forest ในประเทศไทยมักพบอยู่ตามภูเขาสูง
ส่วนใหญ่มักพบอยู่สูงกว่า 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่บางแห่งพบอยู่ต่ำ
ในระดับเพียง 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไม้หลัก คือ สนสองใบ และสนสามใบ
แต่มักจะมีพืชอื่นขึ้นปะปนเช่น ไม้พวกก่อ เต็ง รัง พื้นล่างมักโล่ง
ปกคลุมด้วยหญ้า เช่น ป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว หรือป่าดอยอินทนนท์
เป็นต้น ส่วนนกที่พบในป่าประเภทนี้ เช่น พวกนกไต่ไม้ (Nuthatch)
นกหัวขวาน (Woodpecker)
|
|
|
|
|
|
xxป่าดงดิบชื้น
Tropical Evergreen Rainforest
เป็นป่าดงดิบที่พบในระดับความสูง 200-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบทุกภาคของประเทศ
แต่มากที่สุดคือภาคใต้และภาคตะวันออก เพราะเป็นบริเวณที่ฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นมาก
ป่าดงดิบชื้นมักจะเป็นป่ารกทึบ เขียวชอุ่มตลอดปี พืชที่พบเช่น ยาง
ตะเคียน กะบาก เคี่ยม มะม่วงป่า นกที่พบในป่าประเภทนี้เช่น นกเงือก
(Hornbill) ชนิดต่างๆ นกพญาไฟใหญ่ ( Scarlet Minivet) นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
( Blue-wing Leafbird) นกเขียวคราม (Asian Fiery-Bluebird) |
|
xxป่าดงดิบแล้ง
Dry Evergreen Forest
เป็นป่าดงดิบที่มีลักษณะคล้ายกับป่าดงดิบชื้น แต่มีความชุ่มชื้นน้อยกว่า
ปริมาณน้ำฝนประมาณ 1000-2000 มม.ต่อปี และมักมีฤดูแล้งประมาณ 4 เดือน
พรรณไม้ที่พบ เช่น ยาง ตะเคียน กระบาก กะพง มะค่า ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวก
ปาล์ม ไผ่ เถาวัลย์ และเฟิร์น นกที่พบคล้ายกับป่าดงดิบชื้น
|
|
|
|
|
|
xxป่าในที่ราบต่ำ
Lowland Evergreen Forest
เป็นป่าดงดิบที่อยู่บริเวณที่ต่ำ จากระดับน้ำทะเลจนถึงที่ระดับความสูง
200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น ป่าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
ป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เป็นต้น นกที่พบในป่าประเภทนี้เช่น
นกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney's Pitta) นกเงือกดำ ( Black Hornbill) นกโพระดำหลากสี
(Red-crowned Barbet) นกขุนแผนตะโพกน้ำตาล ( Cinnamon-rumped Trogon) |
|
xxป่าเบญจพรรณ
Mixed Deciduous Forest
หรืออีกชื่อหนึ่งคือป่าผสมผลัดใบ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ดินเป็นดินร่วนปนทราย
ในฤดูแล้งต้นไม้มักจะผลัดใบ เช่น ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น สัก ประดู่ แดง มะค่า ตะแบก และไผ่ นกที่พบคือพวกไก่ฟ้า
(Pheasant) นกหัวขวาน (Woodpecker) นกขุนช้างขุนแผน (Trogon) นกโพระดก
(Barbet) |
|
|
|
|
|
xxป่าเต็งรัง
Dry Dipterocarp Forest
เป็นป่าที่ขึ้นในบริเวณดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ โดยมีไม้หลักๆ คีอ ต้นเต็ง
และต้นรัง ในฤดูแล้ง ใบไม้จะเปลี่ยนสี ก่อนจะทิ้งใบร่วงเหลือเพียงลำต้นและกิ่งก้าน
มักจะเกิดไฟป่า ต้นไม้ที่พบจึงมีเปลือกหนา ทนความร้อนได้ดี ลำต้นไม่สูงใหญ่
และมักมีลำต้นกับกิ่งก้านคดงอ พืชป่ามักเป็นทุ่งหญ้า และมักมีพืชเช่น
ปรง เป้ง ขึ้นอยู่ด้วย เช่น ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
เป็นต้น นกที่พบมักจะเป็นพวกนกหัวขวาน เช่น นกหัวขวานใหญ่สีดำ (
White-bellied Woodpecker ) นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง (Black-headed
Woodpecker) นกขี้เถ้าใหญ่ ( Large Wood-Shrike) นกปีกลายสก๊อต (
Eurasian Jay) และพวกนกไต่ไม้ (Nuthatch) ชนิดต่างๆ
|
|
xxป่าเขาหินปูน
Limestone Vegetation
เป็นป่าที่เกิดขึ้นบริเวณที่ภูเขามีลักษณะเป็นหินปูน หน้าผาสูงชัน
โดยที่เขาหินปูนมีความแห้งแล้ง เนื่องจากคุณสมบัติของหินปูนไม่สามารถซับน้ำได้ดี
จึงไม่พบพืชมากนัก พืชที่พบจึงมักมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
เช่น จันทน์ผา สลัดได เป็นต้น นกที่มักพบในป่าประเภทนี้คือ นกจู๋เต้นเขาปูน
(Limestone Wren-Babbler) นกเค้า (Owl)บางชนิด
|
|
|
|
|
|
xxป่าชายเลน
Mangrove Forest เป็นป่าที่ติดกับทะเล
หรือปากแม่น้ำ บางทีก็เรียกว่าป่าโกงกาง เป็นป่าไม่ผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น
มักจะมีรากค้ำยันและรากหายใจ โดยได้อิทธิผลจากน้ำทะเล พรรณไม้ที่พบได้แก่
โกงกาง แสมตะบูน ลำพู ลำแพน เป็นต้น นกที่พบบริเวณนี้เช่น นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล
(Brown-winged Kingfisher) นกฟินฟุท (Marked Finfoot) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง
(Mangrove Pitta) นกกินปลีคอทองแดง (Copper-throated Sunbird)
|
|
xxป่าพรุ
swamp Forest ป่าชนิดนี้มักปรากฏในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมขัง
นานๆ ดินระบายน้ำไม่ดี พบในภาคกลางและในภาคใต้ ในภาคใต้ป่าพรุจะขึ้นในบริเวณน้ำขัง
มีซากพืชผุสลายทับถมกันมาเป็นเวลานาน มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น พรรณไม้ที่พบ
ได้แก่ อินทนิลน้ำ หว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำ กันเกรา โงงงัง พืชพื้นล่างได้แก่
ตะคร้าทอง หมากแดง หวาย เป็นต้น นกที่พบในป่าประเภทนี้ได้แก่ นกหัวขวานหลังสีไพล
(Olive-backed Woodpecker) นกกางเขนหางแดง (Rufous-tailed Shama) นกกินแมลงหลังฟู
(Fluffy-backed Tit-Babbler) นกจับแมลงป่าพรุ (Malaysian Blue-Flycatcher)
เป็นต้น |
|
|
|
|
|
xxป่าละเมาะ
Scrub เป็นป่าที่มีลักษณะโปร่ง
พื้นป่าโล่ง มักพบผสมกับป่าชนิดอื่นๆ นกที่พบเช่น นกจาบคาหัวสีส้ม
(Chestnut-headed Bee-eater) นกคัคคูเหยี่ยวอกแดง (Large Hawk-Cuckoo)
นกหัวขวานด่างอกลายจุด (Fulvous-breasted Woodpecker) นกคุ่ม (Quail)
หลายชนิด |
|
xxป่าชั้นสอง
Secondary Forest เป็นป่าที่กำลังฟื้นตัวจากการทำลาย
หรือกำลังขยายตัว มักพบตามชายป่าที่มีความสมบูรณ์
มักมีไม้เบิกนำขึ้นอยู่ ก่อนที่ไม้ชนิดอื่นๆ จะขยายตามมา เป็นแหล่งอาศัยของนกหลายๆ
ชนิด |
|
|
|
|
|
xxป่าตามเกาะ
Island Forest
หมายถึงป่าที่ขึ้นอยู่บนเกาะกลางทะเล มักเป็นแหล่งอาศัยของนกหลายชนิด
บางชนิดก็พบในแผ่นดินใหญ่ บางชนิดก็พบเฉพาะตามเกาะเท่านั้น นกที่พบเช่น
นกชาปีไหน (Nicobar Pigeon) นกเขาเปล้าใหญ่ (Large Green Pigeon)
นกลุมพูขาว (Pied Imperial Pigeon) นกลุมพู (Green Imperial Pigeon)
เป็นต้น
|
|
xxทุ่ง-ทุ่งนา
Paddyfield เป็นบริเวณที่มีน้ำขัง
พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งอาศัยของนกหลายชนิดเช่น
นกกระจาบ (Weaver)นกเด้าลม (Wagtail) นกยอดหญ้าหัวดำ (Stonechat) นกกระจิบหญ้าสีเรียบ
(Plain Prinia) นกยอดข้าวหางแพนลาย (Zitting Cisticola) นกอีลุ้ม (Watercock)
|
|
|
|
|
|
xxหนองบึง
Swamp ทะเลสาบ Pond , Lake
นกที่พบมักจะเป็นนกน้ำ ซึ่งใช่แหล่งน้ำเป็นที่หากิน บางทีก็ทำรังวางไข่ด้วย
นกที่พบเช่น นกเป็ดน้ำชนิดต่างๆ นกอีลุ้ม (Common Moorhen) นกอีแจว
(Pheasant-tailed Jacana) |
|
xxหาดทรายและหาดโคลนชายฝั่ง
(Coastal) นากุ้ง บ่อเลี้ยงปลา นาเกลือ
นกที่พบมักจะเป็นนกจำพวกนกชายเลน (Wader) เช่น นกซ่อมเหยี่ยน (Stint)
นกชายเลน (Sandpiper) นกหัวโต(Plover) นกยาง (Egret) นกกาน้ำ (Comorant)
เป็นต้น |
|
|
|
|
|
xxทะเล
Sea ทะเลเป็นที่อาศัยของนกหลายชนิด
ซึ่งจะอาศัยอยู่ในทะเลเกือบตลอดเวลา จะกลับเข้าสู่พื้นดินเฉพาะช่วงผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้น
ซึ่งมักจะเป็นเกาะที่อยู่ตามท้องทะเล เช่น นกโจรสลัด (Frigatebird)
นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ (ฺBlack-naped Tern) นกบู้บี้ (Booby) นกร่อนทะเล
(Tropicbird) |
|
xxสวนสาธารณะในเมือง
(Town) นกที่พบมักจะเป็นนกที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในเมืองได้
เช่นนกตีทอง (Coppersmith Barbet) นกสีชมพูสวน (Scarlet-backed Flowerpecker)
นกเอี้ยงสาริกา (Common Myna) นกกินปลีอกเหลือง (Olive-backed Sunbird) |